วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีสารสนเทศ ม.5 โดย นาย วินุวัฒน์ ทองปลั่ง

บทที่ 2เครือข่ายคอมมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์-การแลกเปลี่ยนข้อมูลและคอมพิวเตอร์ในอดีตจะใช้วิธีบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดิสก์
1.1ความหมายและองค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์-  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network)หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพวงเข้าด้วยกันโดยใช้สื่อกลางต่างๆ เช่น สายสัญญาณ คลื่นวิทยุ เป็นต้น   เครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 6 ประเภท1.เครือข่ายเฉาะที่หรือแลน  : LAN2.เครือข่ายนครหลวงหรอแมน  :MAN3.เครือข่ายบริเวณกว้าง  : WAN4.เครือข่ายภายในองค์กรหรืออินทราเน็ต  (INTRANET)5.เครือข่ายภายในองค์กรหรืออินทราเน็ต  (EXTRANET)6.เครือข่ายอินเทอร์เน็ต  (INTRANET)
1.2 การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก  -  การติดตั้งเครือข่ายขนาดเล็กมีจุดประสงค์เพื่อใช้งานภายในบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็ก1.อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีหลายชนิดเช่น การ์ดแลน ฮับ สวิตช์ โมเด็ม เป็นต้น1.1 การ์ดแลนเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านสายแลน1.2 ฮับเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนกับชุมทางข้อมูลมีหน้าที่เป็นตัวกลางคอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย1.3 สวิตช์เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณเช่นเดียวกับฮับ เนืองจากสวิตช์จะรับกลุ่มข้อมูลมาตรวจก่อนว่าเป็นข้อมูลเครื่องใดแล้วจึงนำข้อมูลนั้นส่งไปยังเครื่องปลายทางได้อย่างอัตโนมัต1.4 โมเด็มที่อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเพื่อให้สามารถส่งผ่านทางสายโทรศัพท์1.5 อุปกรณ์จัดเส้นเส้นทางหรือเราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมโยงเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน1.6 สายสัญญาณเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับข้อมูล
2.การเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดเล็ก-  แบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก ๆๆ คือ
2.1 การเชื่อมต่อระบบระยะใกล้
2.2การเชื่อมต่อระบบระยะใกล้
1.3การใช้ซอลต์แวร์ชองระบบเครือข่ายขนานเล็ก    - การใช้ซอลต์แวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก สามารถเลือกใช้ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่ายเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับออกแบบและจัดการงานด้านสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่าย 
1.ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นต์โอเอส
2. .ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์
2.อินเทอร์เน็ต          -ในสังคมสารสนเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วความรู้ความเข้าใจในระบบอินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดกับคนในสังคม
2.1ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต    อินเทอร์เน็ต หมายถึง การใช้ประโยชน์ของระบบคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาเชื่องต่อกันโดยผ่านสื่อการชนิดกลางชนิดหนึ่งเช่น สายโทรศัพท์ ดาวเทียม เป็นต้นอินเทอร์เน็ตกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ 1969 โดยหน่วยงานโครงงานวิจัยของกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งได้รับการสนับสนุนงานวิจัยแก่หน่วยงานต่าง
2.2 บริการบนอินเทอร์เน็ต   -ปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตในงานหลายประเภทเนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน
1. ไปรษณีอิเล็กทอนิกส์หรืออีเมล์
2. เมลลิงลิสต์
3.การสื่อสารในเวลาจริง
4.เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม
5. บล็อก
6. วิกิ
7.บริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล
8.การโอนย้ายข้อมูล
9.บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือยูสเน็ต
10.เวิลด์เว็บ
11.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2.3 คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อิเทอร์เน็ต  - ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งผู้ที่มีความประพฤติดีมีคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อิเทอร์เน็ต  ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะต้องเข้ากฎเกณฑ์ข้อบังคับเครือข่ายมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ใช้บริการเครือข่าย
1.จรรยาบรรณในการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างสงบสุข
1.1 จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ทุกคนมีอีเมลแอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์การรับผิดชอบในการใช้อีเมลในระบบจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องใช้ความสำคัญ
1.2จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนาผ่านเครือข่าย    ในการสนทนาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้สนทนาต้องมีมารยาดังนี้
1.ต้องรู้จักผู้สนทนา
2.ควรใช้วาจาสุภาพ 
3.เขียนเรื่องให้กระชับ  
4.ไม่ควรหลอกข้อความเท็จมาหลอกผู้อื่น
2. บัญญัติ 10 ประการ ในการใช้คอมพิวเตอร์1.ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นหรือละเมินผู้อื่น
2.ไม่ใช่คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของคนอื่น
3.ไม่เปิดดูข้อมูลในแฟ้มคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
4.ไม่ใช่คอมพิวเตอร์เพื่อโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.ไม่ใช่คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานมี่เป็นเท็จ
6.ไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่น
7.ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรโดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.ไม่นำเอาผลงานของคนอื่นมาเป็นของตนเอง
9.คำนึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมารยาท 

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คำถามประจำหน่วย โดย นาย วินุวัฒน์ ม.5/6 เลขที่ 11

ข้าพเจ้ามีหลักการในการปฏิบัติในการใช้อินเทอร์เน็ตให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเอง และไม่ให้เกิดผล กระทบต่อผู้อื่นและสังคม ดังนี้

         1.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น เช่น ไม่ควรแสดงข้อความกล่าวหาหรือละเมิดสิทธิของผู้อื่น ไม่ควรแสดงรูปภาพลามกอนาจาร เป็นต้น

        2.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช่น เล่นเกมคอมพิวเตอร์ เปิดเพลงจากคอมพิวเตอร์เสียงดังรบกวนผู้อื่น
   
        3.ไม่เปิดดูข้อมูลในแฟ้มของผู้อื่น ก่อนได้รับอนุญาติ
     
       4.ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร เช่น เจาะรหัสบัตรเครดิต การเจาะระบบข้อมูลของบริษัท เป็นต้น

      5.ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ

      6.ไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาติ

      7.ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตัวเองไม่มีสิทธิ์

      8.ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง

      9.คำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน

    10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมารยาททางสังคมเป็นระเบียบ บางเครือข่ายมีบทลงโทษที่ชัดเจน

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

  เครือข่ายคอมพิวเตอร์
          การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้
สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม
การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสือสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ
http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/network.gif
ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มอุปกรณ์รอบข้างเชื่อมโยงเป็นระบบ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสามารถในการปฎิบัติการร่วมกัน ซึ่งหมายถึงการให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ต่ออยู่บนเครือข่ายทำงานร่วมกันได้ทั้งหมดในลักษณะที่ประสานรวมกัน โดยผู้ใช้เห็นเสมือนใช้งานในอุปกรณ์เดียวกัน จึงเป็นวิธีการในการนำเอาอุปกรณ์ต่างชนิดจำนวนมาก มารวมกันเป็นเสมือนระบบเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะมาจากต่างยี่ห้อ ต่างบริษัท ก็ได้

ความหมายของระบบเครือข่าย

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image002.jpg
รูปแสดงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/folder_new_hot.gifคอมพิวเตอร์แม่ข่าย

คอมพิวเตอร์แม่ข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า
Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/folder_new_hot.gifช่องทางการสื่อสาร

ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image004.jpg
รูปแสดงช่องทางการสื่อสารโดยใช้จานรับดาวเทียม

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/folder_new_hot.gifสถานีงาน

สถานีงาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับการบริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/folder_new_hot.gifอุปกรณ์ในเครือข่าย

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/broker_bullet.gifการ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image006.jpg
รูปแสดงการ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย
                                                        องค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/broker_bullet.gifโมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก(Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ด้านผู้รับ โมเด็มก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาลอก ให้เป็นดิจิตอลนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผล โดยปกติจะใช้โมเด็มกับระบบเครือข่ายระยะไกล โดยการใชสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/image008.jpg
รูปแสดงการใช้โมเด็มในการติดต่อเครือข่ายระยะไกล

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/broker_bullet.gifฮับ ( Hub) คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเชื่อมต่อของเครือข่ายแบบดาว (Star) โดยปกติใช้เป็นจุดรวมการเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่าง File Server กับ Workstation ต่าง ๆ
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/010.jpg
แสดงฮับที่ใช้เป็นจุดเชื่อมต่อและจุดแยกของสาย

http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/folder_new_hot.gifซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย

ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ จัดการระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ทำหน้าที่จัดการด้านการรักษาความปลอดภัย ของระบบเครือข่าย และยังมีหน้าที่ควบคุม การนำโปรแกรมประยุกต์ ด้านการติดต่อสื่อสาร มาทำงานในระบบเครือข่ายอีกด้วย นับว่าซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มีความสำคัญต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Windows NT , Linux , Novell Netware , Windows XP ,Windows 2000 , Solaris , Unix เป็นต้น
http://www.piacec.moe.go.th/~epower/ITF/menu/5_files/312.jpg
แสดงซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย






โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (TOPOLOGY)
        การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารนั้น สามารถกระทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไปโดยทึ่วไปแล้วโครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามลักษณะของการเชื่อมต่อดังต่อไปนี้

        1. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (bus topology)
        
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มีข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา
http://www.sa.ac.th/elearning/IMAGE6/bus_topology.jpg
        2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology)
        
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
http://www.sa.ac.th/elearning/IMAGE6/ring_topology.jpg
        3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (star topology)
        
โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุกศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย
http://www.sa.ac.th/elearning/IMAGE6/STAR.JPG

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 2 เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์
   1.1. ความหมายและองค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
           เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer net-work) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันโดยใช้สื่อกลางต่างๆ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้ 6 ประเภท ดังนี้
      1. เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน (local area network : LAN)
      2. เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (metropolitan area network : MAN)
      3. เครือข่ายบริเวณกว้าง หรือแวน (wide area network : WAN)
      4. เครือข่ายภายในองค์กร หรืออินทราเน็ต (intranet)
      5. เครือข่ายภายนอกองค์กร หรือเอ็กทราเน็ต (extranet)
      6. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (internet)
   1.2. การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
      1. อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก 
         1.1. การ์ดแลน (LAN card) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปสู่คอมพิวเตอร์อรกเครื่องหนึ่งโดยผ่านสายแลน
         1.2. ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนกับชุมทางข้อมูล มีหน้าที่เป็นตัวกลางคอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
         1.3. สวิตช์ (switch) เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณเช่นเดียวกับฮับ แต่ต่างจากฮับ คือ การรับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งนั้นจะไม่กระจายไปยังทุกเครื่อง เนื่องจากข้อมูลจะตรวจสอบก่อนว่าเป็นของเครื่องใด แล้วจึงส่งไปยังปลายทาง
         1.4. โมเด็ม (modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเพื่อให้สมมารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ได้
         1.5. อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์ (router) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน เราเตอร์ทำหน้าที่เลือกเส้นทางที่ดีที่สุด
         1.6. สายสัญญาณ (cable) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูล
      2. การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
         2.1. การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้  หากมีคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายไม่เกินสองเครื่อง อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายนอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ยังต้องมีการ์ดแลนและสายสัญญาณ โดยไม่ต้องใช้ฮับและสวิตช์ เพราะถ้ามีคอมพิวเตอร์สองเครื่อง ก็สามารถเชื่อต่อโดยใช้สายไขว้ (cross line)
         2.2. การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล จากข้อกำจัดของเครือข่ายที่ใช้สายแลนที่ไม่สามารถเดินสายให้มีความยาวมากกว่า 100 เมตรได้ จึงต้องหาทางเลือกสำหรับระบบเครือข่ายระยะไกล ดังนี้
   - แบบที่ 1 คือ ต้องติดตั้งเครื่องทวนสัญญาณ (repeater) ไว้ทุกๆระยะ 100 เมตร
   - แบบที่ 2 คือ ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์เข้าหากันเมื่อต้องการเชื่อมต่อ เละเมื่อเสร็จสิ้นก็ยกเลิกการเชื่อมต่อ
   - แบบที่ 3 คือ เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในปัจจุบันสายสัญญาณที่เลือกใช้ คือ สายใยแก้วนำแสง สามารถส่งข้อมูลระยะไกลได้และมีความเร็วสูง
   - แบบที่ 4 คือ ใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย (wireless lan) เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สัญญาณวิทยุทางอากาศแทนการใช้สายโทรศัพท์
   - แบบที่ 5 คือ เทคโนโลยี G.SHDSL ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตะกูล DSL (Digital Subscriber Line) เป็นเทคโนโลยีโมเด็มที่ทำให้คู่สายทองแดงกลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิทัลความเร็วสูง
   - แบบที่ 6 คือ เทคโนโลยีแบบ ethernet over VDSL เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบล่าสุดที่สามารถจะติดตั้งใช้งานได้เอง สามารถเชื่มอต่อใช้กับโทรศัพท์ได้
    1.3. การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก   
      1. ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นโอเอส (Linux community enterprise operating system)
          นิยมเรียกย่อว่า CentOS ซึ่งช่วยประหยัดงบประมาณขององค์กร เนื่องจาก CentOS เป็นซอฟแวร์เปิดเผยโค้ด (open source software) ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโค้ดไปใช้่งานโดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ 
       2. ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ (Windows server) ปัจจุบันถูกพัฒนาเป็น windows Server 2008 ซึ่งออกแบบมาเพื่อนสนับสนุนระบบเครือข่าย แอพพลิเคชันและบริการอื่นๆ ที่มีความทันสมัยบนเว็บไซต์ โดยมีคุณสมบัติเด่น ดังนี้
       1. สร่างโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับภาระงานของเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงความต้องการด้านแอพพลิเคชันต่างๆด้วย
       2. เวอร์ชวลไลเซซั่น (virtualization) เป็นการสร้างระบบเสมือนจริงที่มีรากฐานจากระบบ hypervisor ช่วยให้สามารถรวมเซิร์ฟเวอร์และใช้งานฮาร์ดแวร์ได้อย่างเต็มที่
       3. มีระบบจัดการและดูแลเว็บ และแอพพลิเคชันที่ได้รับการพัฒนามากขึ้น
       4. ระบบความปลอดภัย ได้รับการพัฒนาให้มีความทนทานมากขึ้น พร้อมทั้งผสานการใช้เทคโนโลยีด้าน IDA หลายชิ้น

2. อินเทอร์เน็ต
   2.1. ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
         อินเทอร์เน็ต (internet) มาจากคำว่า interconnection network หมายถึง การใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายที่นำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาเชื่อมต่อกันโดยผ่านสื่อกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง
   2.2. บริการบนอินเทอร์เน็ต
      1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (electronic mail or e-mail) เนื่องจากในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกัน ทำให้การส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกันสามารถทำได้ง่าย
      2. เมลลิงลิสต์ (mailing list) เป็นเสมือนเครื่องมือที่ใช้กระจายข่าวสารและข้่อมูลเฉพาะกลุ่ม
      3. การสื่อสารในเวลาจริง (realtime communication) เป็นการสื่อสารกันที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น แชท (chat)
      4. เว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม (social networking web site) เป็นชุมชนออนไลน์ที่กลุ่มคนรวมกันเป็นสังคม เช่น facebook
      5. บล็อก (blog) ย่อมาจากคำว่า เว็บบล็อก (webblog) เป็นเว็บไซต์ที่ใช้เขียนบันทึกเรื่องราว เพื่อสื่อสารความรู้สึก มุมมอง เรียกว่า ไดอารี่ออนไลน์ (diary online)
      6. วิกิ (wiki) เป็นรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆ ที่มีความรู้ในแต่ละเรื่องมาให้ข้อมูล เช่น wikipedia
      7. บริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล (remote login/telnet) บริการนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปทำงานต่างๆ ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งผ่านทางคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกลกันก็ตาม
      8. การโอนย้ายข้อมูล (file transfer protocol : FTP) เป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งอาจจะอยู่ใกล้หรือไกล
      9. บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร หรือ ยูสเน็ต (usenet) เป็นอีกบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีลักษณะเป็นกลุ่มสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
      10. เวิลด์ไวด์เว็บ (world wide web) ซึ่งอาจเรียกย่อว่า เว็บ (web) เป็นบริการเพื่อการค้นหาข้อมูลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เป็นการให้บริการข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) เป็นวิธีการที่จะเชื่อมโยงข้อมูลจากเอกสารหนึ่งไปข้อมูลของอีกเอกสารหนึ่ง
      11. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic commerce หรือ e-commerce) เป็นการทำธุรกรรมซื้อขายสินค้าและบริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยนำเสนอสินค้าและบริการทางเว็บไซต์
   2.3. คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
      1. จรรยาบรรณในการใช้อินเทอร์เน็ต (netiquette)
      1.1. จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ 
      - ตรวจสอบกล่องรับไปรษณีย์ทุกวัน จำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในตู้จดหมาย
      - ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการทิ้ง
      - โอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
      - พึงระลึกไว้เสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่น
      - ไม่ควรจะส่งจดหมายกระจายไปยังผู้รับจำนวนมาก
      1.2. จรรยาบรรณสำหรับผูั้สนทนาผ่านเครือข่าย
   - ควรสนทนากับผู้ที่รู้จักและต้องการสนทนาด้วยเท่านั้น
   - ก่อนการเรียกคู่สนทนา ควรตรวจสอบสถานะการใช้งานของคู้สนทนาก่อน
   - หลังการเจรียกคู่สนทนาไปแล้ว ไม่ตอบกลับมาแสดงว่าเขาอาจติดธุระอยู่
   - ควรใช้วาจาสุภาพ
      1.3 จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าวหรือกระดานสนทนา
   - เขียนเรื่องให้กระชับ ใช้ข้อความสั้น
   - ไม่ควรเขียนข้อความพาดพิงถึงสถาบันของชาติในทางที่ไม่สมควร
   - ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์
   - ไม่ควรสร้างข้อความเท็จ
   - ไม่ควรใช้เครือข่ายส่วนรวมเพื่อใช้ประโยชน์ส่วนตน
      2. บัญญัติ 10 ประการในการใช้งานคอมพิวเตอร์ 
   1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
   2. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น
   3. ไม่เปิดดูข้อมูลในแฟ้มของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
   4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
   5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
   6. ไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่น
   7. ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์
   8. ไม่นำเอาผลงานคนอื่นมาเป็นของตัวเอง
   9. คำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
   10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดนเคารพกฎ ระเบียบ กติกา